การป้องกันโรคหัวใจวาย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพ หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เครียด งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัดรักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต โรคเบาหวานไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจการรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ
- เพศชาย มีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าเพศหญิง
- อายุที่มากขึ้น เมื่อใกล้เข้าหลัก 40 ปี ยิ่งมีความเสี่ยงเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ
- บุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจเร็ว โดยนับจากผู้ชายที่เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี และผู้หญิง ก่อนอายุ 65 ปี
- การสูบบุหรี่ สารพิษหลายชนิดในบุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจมีความผิดปกติ โดยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมให้เป็นปกติ จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและหนาขึ้น เป็นเหตุให้เลือดไหลผ่านไปสู่อวัยวะอื่นๆได้ไม่เพียงพอ นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
- โรคเบาหวาน น้ำหนักที่มากกว่าปกติทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าเดิม
- ทานอาหารที่มีไขมันสูง เกลือ น้ำตาล หรืออาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง ส่งผลให้เลือดส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ยาก
- ไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ตามมา และเมื่อออกกำลังกายก็กลับเหนื่อยง่าย
- ความเครียด ความเครียดที่ไม่ได้รับการผ่อนคลาย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้สูง