4 นาที ดูวิธีใช้เครื่อง AED และทำ CPR ช่วยคนหัวใจหยุดเต้น

4 นาที ดูวิธีใช้เครื่อง AED และทำ CPR ช่วยคนหัวใจหยุดเต้น ทุกๆ 1 ชั่วโมง มีคนไทย 6 คน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โพสต์โดย Workpoint News – ข่าวเวิร์คพอยท์ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2019

AED คือ

AED คือ อะไร? AED คือ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (อังกฤษ: automated external defibrillator, AED) AED ทำหน้าที่? เป็นเครื่องอัตโนมัติที่สามารถอ่านคลื่นหัวใจ ขณะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน และสามารถกระตุ้น ให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติได้ AED ใช้เมื่อไหร่? เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หัวใจจะบีบตัวผิดจังหวะอย่างรุนแรง หัวใจห้องล่างสั่นระริกไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า จะทำให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติอีกครั้ง ภาวะที่รักษาได้ เครื่อง AED ใช้รักษาภาวะหัวใจหยุดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนใหญ่เครื่องจะสามารถรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 2 ชนิดหลักๆ คือ 1. เวนทริคูลาร์ แทคีคาร์เดีย (หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว) ชนิดคลำชีพจรไม่ได้ (VT หรือ V-Tach) 2. เวนทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน (หัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว) (VF หรือ V-Fib)   ที่มา: https://thaircy.redcross.or.th/2016/09/21/aed-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

การป้องกันโรคหัวใจวาย

การป้องกันโรคหัวใจวาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพ หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เครียด งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัดรักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต โรคเบาหวานไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจการรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ เพศชาย มีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าเพศหญิง อายุที่มากขึ้น เมื่อใกล้เข้าหลัก 40 ปี ยิ่งมีความเสี่ยงเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ บุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจเร็ว โดยนับจากผู้ชายที่เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี และผู้หญิง ก่อนอายุ 65 ปี การสูบบุหรี่ สารพิษหลายชนิดในบุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจมีความผิดปกติ โดยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมให้เป็นปกติ จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและหนาขึ้น เป็นเหตุให้เลือดไหลผ่านไปสู่อวัยวะอื่นๆได้ไม่เพียงพอ นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ โรคเบาหวาน น้ำหนักที่มากกว่าปกติทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าเดิม ทานอาหารที่มีไขมันสูง เกลือ น้ำตาล หรืออาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง ส่งผลให้เลือดส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ยาก ไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ตามมา และเมื่อออกกำลังกายก็กลับเหนื่อยง่าย ความเครียด ความเครียดที่ไม่ได้รับการผ่อนคลาย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้สูง

ภาวะหัวใจวาย

ภาวะหัวใจวาย ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจทำงานล้มเหลว ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจนถ้าเกิดที่ไต…. จะทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาต่อก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือ ถ้าเกิดที่ปอด…. ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema) “สัญญาณเตือนโรคหัวใจวาย” แน่นหน้าอก จะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมาก จนทนไม่ได้เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย หายใจหอบ เหนื่อย จะเหนื่อยหอบ หายใจเร็วขณะออกแรง หรือบางทีอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกเหนื่อยหอบ ถ้าเป็นหนักอาจถึงขนาดนอนราบกับพื้นไม่ได้ เหงื่อแตก ใจสั่น หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น (Heart Arrest) การรักษา การรักษาโรคหัวใจจะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบและรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น เช่น การผ่าตัดหัวใจ การทำหัตถการสวนหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง Credit : http://www.bkh.co.th

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ คืออะไร

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า (AED) คืออะไร? เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (อังกฤษ: automated external defibrillator, AED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตชนิดเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชัน (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว) และเวนทริคูลาร์แทคีคาร์เดีย (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ) ได้โดยอัตโนมัติและสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง เครื่อง AED ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้โดยคนทั่วไป โดยจะให้คำแนะนำผ่านเสียงพูดและภาพประกอบบนจอ โดยถูกรวมอยู่ในการเรียนการสอนการปฐมพยาบาล การอบรมผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน (firse responder) และการช่วยกู้ชีพ (CPR) ทุกระดับขั้น รวมถึงขั้นพื้นฐาน (basic life support) ภาวะที่รักษาได้ เครื่อง AED ใช้รักษาภาวะหัวใจหยุดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนใหญ่เครื่องจะสามารถรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 2 ชนิดหลักๆ คือ 1. เวนทริคูลาร์ แทคีคาร์เดีย (หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว) ชนิดคลำชีพจรไม่ได้ (VT หรือ V-Tach) 2. เวนทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน (หัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว) (VF หรือ V-Fib) ทั้งสองภาวะนี้เป็นภาวะซึ่งหัวใจยังเต้นอยู่…

เครื่อง AED ใช้กับผู้ป่วยใดได้บ้าง

เครื่อง AED ใช้กับผู้ป่วยใดได้บ้าง ผู้ป่วยอายุ 8 ปี ขึ้นไป หรือ น้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถใช้ SavePads PreConnect ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับผู้ใหญ่ ผู้ป่วยอายุไม่เกิน 8 ปี หรือน้ำหนักต่ำกว่า 25 กิโลกรัม สามารถใช้ SavePads mini ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับเด็ก และในกรณีฉุกเฉินหากไม่มี SavePads mini สามารถใช้ SavePads PreConnect แทนได้ และเปลี่ยนการใช้งานเป็น Pediatric mode

CPR & AED สิ่งที่ควรรู้ ของที่ต้องมี

CPR & AED สิ่งที่ควรรู้ ของที่ต้องมี การทำ CPR หรือการกดหน้าอก ร่วมกับการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ AED ที่ถูกวิธี สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีโอกาสรอดได้ถึง 50% สิ่งสำคัญที่ทุกคนเรียนรู้ได้ใน 3 นาทีผ่านคลิปนี้ โดยนักศึกษานักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Ramamedic #WeMahidol #Mahidol #CPR #AED โพสต์โดย We Mahidol เมื่อ วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2018 Credit : We Mahidol